ตำบลของเรา

ประวัติของบ้านเขว้า

เชื่อกันว่า ประมาณ 300 ปี ที่ผ่านมา เซียงสี เซียงทอง เซียงหวิงและเซียงย้อย ราษฎรจาก “บ้านข่าว” เขตอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ได้เดินทางรอนแรมมาตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อล่าสัตว์ ตามประสาอาชีพพรานไพรจนมาถึงบริเวณแห่งหนึ่ง เต็มไปด้วยป่าไม้ที่แสนอุดมสมบูรณ์ มีทั้งที่เป็นที่ลุ่ม เป็นบึง เป็นหนองน้ำและมีลำห้วยที่มีน้ำเต็มฝั่ง และบริเวณนี้เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เสือ ช้าง ละมั่ง ลิง วัวป่า ควายป่า กวาง กระทิงและสัตว์อื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้ง 4 คน ที่มาจาก “บ้านข่าว” ได้พิจารณาร่วมกันแล้วเห็นว่าบริเวณที่แห่งนี้เหมาะสมที่จะตั้งหลักปักฐาน ในการตั้งบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัย เพาะปลูก จับปลา ล่าสัตว์ ทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพ จึงได้ชวนกันอพยพโยกย้ายชักชวนญาติพี่น้องมาตั้งรกรากถิ่นฐานบ้านเรือน จนเกิดเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ขึ้น

ต่อมา ได้มีการบอกข่าว หรือส่งข่าวไปยังญาติพี่น้องจากถิ่นต่าง ๆ ทำให้มีการอพยพมาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมีการตั้งชื่อหมู่บ้านตามภูมิลำเนาเดิมของตนที่อพยพมาว่า “บ้านข่าว” เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจว่า บรรพบุรุษ 4 คนแรกของ “บ้านข่าว” จากจังหวัดนครราชสีมาเป็นผู้มาก่อตั้ง “บ้านข่าว” แห่งจังหวัดชัยภูมินี้ขึ้น โดยจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประชาชนโดยทั่วไปที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ ยังเรียกชื่อว่า “บ้านข่าว” อยู่นั้นเอง

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2393 ทางราชการได้มีการสำรวจหมู่บ้านพบว่า หมู่บ้านแห่งนี้ชื่อ “บ้านข่าว” ตามคำพูดของชาวบ้าน แต่คงจะเป็นข้าราชการคนภาคกลาง

เป็นผู้มาสำรวจถึงได้เรียกชื่อเพี้ยนไป และลงเป็นหลักฐานทางราชการว่า “บ้านเขว้า” ซึ่งปัจจุบันมีหลายแห่งที่ทางราชการเรียกชื่อเพี้ยนจากข้อมูลที่เป็นจริง เช่น “หนองบัวลุ่มภู”

กลายเป็น “หนองบัวลำภู” “ขามแก่น” กลายเป็น “ขอนแก่น” “ชลบท” กลายเป็น “ชนบท” เป็นต้น “บ้านข่าว” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษรุ่นแรกของชาว “บ้านเขว้า” จังหวัดชัยภูมินั้น คงจะเป็นการตั้งชื่อหมู่บ้านเพื่อเป็นที่ระลึก ตั้งแต่สมัยที่มีการสงครามกับเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งในห่วงเวลานั้น ชาวบ้านมีการส่งข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของข้าศึกศัตรูให้แก่กัน

สำหรับ “บ้านเขว้า” จังหวัดชัยภูมิ ถ้าจะนับเป็นเมืองแห่งข่าวสารคงจะพออนุโลมได้ว่า ในอดีตมีการส่งข่าวสารถึงความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ญาติพี่น้อง เพื่อให้อพยพมาอยู่ด้วยกัน แม้ในปัจจุบันจะไม่มีการอพยพ แต่ข่าวสารที่ไปจาก “บ้านเขว้า” ก็คือ “ผ้าไหม” อันเลื่องลือชื่อ จนมีคำพูดในเชิงเปรียบเทียบว่า ถ้าส้มโอหวานต้องนครชัยศรี ผ้าไหมดีต้องบ้านเขว้า จนเป็นที่มาของ “บ้านเขว้าเมืองแห่งผ้าไหม” แต่อย่างใดก็ตามเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่บรรพบุรุษและอุทาหรณ์ในการสื่อสารสำเนียงที่ไม่มีการพินิจพิจารณาดีพอ ขอให้ชาวอำเภอบ้านเขว้าทุกคนได้พร้อมใจกันอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามต่าง ๆ ไว้ และคงอนุรักษ์คำว่า “บ้านข่าว” ให้คงอยู่คู่กับอำเภอบ้านเขว้าตลอดไป

บ้านเขว้ากับผ้าไหม

ผ้าไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า โดยเฉพาะตำบลบ้านเขว้า เริ่มจากการทอผ้าไหมเพื่อใช้ในครัวเรือน การแต่งกายของผู้คนในโอกาส

พิธีการต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของเจ้าบ่าว เจ้าสาว เป็นของไหว้สำหรับญาติฝ่ายชายในงานแต่งงาน รวมถึงงานบุญ งานทาน

งานประเพณีต่างๆ ผู้คนจะแต่งกายด้วยผ้าไหม ทั้งชายและหญิงเป็นการประกวด ประชัน ทั้งฝีมือการทอและการตัดเย็บไปในตัว

ในปี ๒๕๑๖ นายสมคิด จาปะเกษตรซึ่งขณะนั้นเป็นนายอำเภอบ้านเขว้าพร้อมด้วยนายทองคำ อยู่วิเศษ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอบ้านเขว้า

พร้อมด้วยคุณนายนายอำเภอบ้านเขว้าได้ประสานไปยังคุณหญิงจรุงจิตรฯ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

และมรว.สุปะภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการ ในพระองค์เพื่อติดต่อขอนำผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของเกษตรกรไปจำหน่ายยังสำนักพระราชวัง

ซึ่งได้รับการสนับสนุนให้นำผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเข้าไปจำหน่าย จึงได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตสินค้าออกจำหน่าย โดยการนำของท่านนายอำเภอบ้านเขว้า

และได้จัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมอำเภอบ้านเขว้าขึ้นในสมัยนั้นเอง มีสมาชิกทั้งสิ้น ๖๐๐ คน โดยมีนางแซว อยู่วิเศษ เป็นหัวหน้ากลุ่ม สามารถจำหน่ายผ้าไหมให้กับสำนักพระราชวังได้ราคาที่สูงมาก ผ้าไหมของบ้านเขว้าจึงเริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไปของคนไทยทั้งประเทศตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ผู้ว่าฯ ชัยภูมิกับผ้าไหม

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ นายถนอม แสงชมพู นายอำเภอขณะนั้น ได้นำผ้าไหมส่งศูนย์ศิลปาชีพ สวนจิตรลดา

ด้วยคุณภาพของ ผ้าไหม ลวดลายที่แปลกตา และฝีมือที่ประณีตจึงได้รับความสนใจ มีผู้สั่งทอเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๓๐

ผู้ว่าราชการในจังหวัดชัยภูมิในขณะนั้น (ร.ต.สุนัย ณ อุบล ดร. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านผ้าไหมและผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหม ) ได้ให้

การส่งเสริมการผลิตและได้ส่งผ้าไหมบ้านเขว้าเข้าประกวดที่โครงการศิลปะอาชีพบางไทร พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์จังหวัดสกลนคร

ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้นผ้าไหมอำเภอบ้านเขว้าได้รับการคัดเลือกส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศเกือบทุกปี

เอกลักษณ์ของลายผ้า เป็นการสะท้อนความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตชุมชนบ้านเขว้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมชุมชน

ก่อให้เกิดจินตนาการคิดค้นออกมาเป็นลวดลายต่างๆ บนผืนผ้าถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เชื่อมโยงผลิตภัณฑ์กับภูมิปัญญา

มีการสาธิตการผลิตผ้าไหมและกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการผลิต เช่น การทอผ้า การเพนท์ผ้า การหยอดทองเป็นต้น

หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

ในปีพ.ศ.๒๕๔๕ โครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการพิจารณาให้เป็นสินค้าระดับ ๕ ดาวของจังหวัดชัยภูมิ

และในการประกวดสินค้า โอท็อป ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ผ้าไหมบ้านเขว้า ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ

ยอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เห็นได้จากการจำหน่ายผ้าไหมในงานแสดงสินค้าที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ยอดจำหน่ายสินค้า otopของจังหวัดชัยภูมิ

เฉพาะผ้าไหมเป็นเงินถึง ๑๔ ล้านบาทเศษ

ต่อมาได้มีการผลิตผ้าไหมกันอย่างแพร่หลาย และกลุ่มผู้ทอผ้าไหมอำเภอบ้านเขว้า ได้ผลิตผ้าไหมเป็นจำนวนมาก ทำให้การนำผลิตภัณฑ์ผ้าไหม

ส่งจำหน่ายยังสำนักพระราชวังไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ ที่ส่งเข้าไปมีมากเกินไปทำให้สมาชิกของกลุ่มบางคนออกไปจัดตั้งและผลิตผ้าไหม

เพื่อหาแหล่งจำหน่ายเองจึงทำให้เกิดการแตกแยกภายในกลุ่ม จนปัจจุบันกลุ่มผู้ทอผ้าไหมอำเภอบ้านเขว้าได้ถูกยุบเลิกไป และเกิดกลุ่มผู้ประกอบการผลิต

และจำหน่ายผ้าไหมขึ้นอีกเป็นจำนวนมากตามที่ปรากฎเห็นตามภาพหมู่บ้านผ้าไหม

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นายยงยุทธ ยุทธ ทองเจริญ

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/358019

ประวัติของบ้านเขว้า

เชื่อกันว่า ประมาณ 300 ปี ที่ผ่านมา เซียงสี เซียงทอง เซียงหวิงและเซียงย้อย ราษฎรจาก “บ้านข่าว” เขตอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ได้เดินทางรอนแรมมาตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อล่าสัตว์ ตามประสาอาชีพพรานไพรจนมาถึงบริเวณแห่งหนึ่ง เต็มไปด้วยป่าไม้ที่แสนอุดมสมบูรณ์ มีทั้งที่เป็นที่ลุ่ม เป็นบึง เป็นหนองน้ำและมีลำห้วยที่มีน้ำเต็มฝั่ง และบริเวณนี้เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เสือ ช้าง ละมั่ง ลิง วัวป่า ควายป่า กวาง กระทิงและสัตว์อื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้ง 4 คน ที่มาจาก “บ้านข่าว” ได้พิจารณาร่วมกันแล้วเห็นว่าบริเวณที่แห่งนี้เหมาะสมที่จะตั้งหลักปักฐาน ในการตั้งบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัย เพาะปลูก จับปลา ล่าสัตว์ ทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพ จึงได้ชวนกันอพยพโยกย้ายชักชวนญาติพี่น้องมาตั้งรกรากถิ่นฐานบ้านเรือน จนเกิดเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ขึ้น

ต่อมา ได้มีการบอกข่าว หรือส่งข่าวไปยังญาติพี่น้องจากถิ่นต่าง ๆ ทำให้มีการอพยพมาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมีการตั้งชื่อหมู่บ้านตามภูมิลำเนาเดิมของตนที่อพยพมาว่า “บ้านข่าว” เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจว่า บรรพบุรุษ 4 คนแรกของ “บ้านข่าว” จากจังหวัดนครราชสีมาเป็นผู้มาก่อตั้ง “บ้านข่าว” แห่งจังหวัดชัยภูมินี้ขึ้น โดยจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประชาชนโดยทั่วไปที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ ยังเรียกชื่อว่า “บ้านข่าว” อยู่นั้นเอง

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2393 ทางราชการได้มีการสำรวจหมู่บ้านพบว่า หมู่บ้านแห่งนี้ชื่อ “บ้านข่าว” ตามคำพูดของชาวบ้าน แต่คงจะเป็นข้าราชการคนภาคกลาง

เป็นผู้มาสำรวจถึงได้เรียกชื่อเพี้ยนไป และลงเป็นหลักฐานทางราชการว่า “บ้านเขว้า” ซึ่งปัจจุบันมีหลายแห่งที่ทางราชการเรียกชื่อเพี้ยนจากข้อมูลที่เป็นจริง เช่น “หนองบัวลุ่มภู”

กลายเป็น “หนองบัวลำภู” “ขามแก่น” กลายเป็น “ขอนแก่น” “ชลบท” กลายเป็น “ชนบท” เป็นต้น “บ้านข่าว” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษรุ่นแรกของชาว “บ้านเขว้า” จังหวัดชัยภูมินั้น คงจะเป็นการตั้งชื่อหมู่บ้านเพื่อเป็นที่ระลึก ตั้งแต่สมัยที่มีการสงครามกับเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งในห่วงเวลานั้น ชาวบ้านมีการส่งข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของข้าศึกศัตรูให้แก่กัน

สำหรับ “บ้านเขว้า” จังหวัดชัยภูมิ ถ้าจะนับเป็นเมืองแห่งข่าวสารคงจะพออนุโลมได้ว่า ในอดีตมีการส่งข่าวสารถึงความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ญาติพี่น้อง เพื่อให้อพยพมาอยู่ด้วยกัน แม้ในปัจจุบันจะไม่มีการอพยพ แต่ข่าวสารที่ไปจาก “บ้านเขว้า” ก็คือ “ผ้าไหม” อันเลื่องลือชื่อ จนมีคำพูดในเชิงเปรียบเทียบว่า ถ้าส้มโอหวานต้องนครชัยศรี ผ้าไหมดีต้องบ้านเขว้า จนเป็นที่มาของ “บ้านเขว้าเมืองแห่งผ้าไหม” แต่อย่างใดก็ตามเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่บรรพบุรุษและอุทาหรณ์ในการสื่อสารสำเนียงที่ไม่มีการพินิจพิจารณาดีพอ ขอให้ชาวอำเภอบ้านเขว้าทุกคนได้พร้อมใจกันอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามต่าง ๆ ไว้ และคงอนุรักษ์คำว่า “บ้านข่าว” ให้คงอยู่คู่กับอำเภอบ้านเขว้าตลอดไป

บ้านเขว้ากับผ้าไหม

ผ้าไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า โดยเฉพาะตำบลบ้านเขว้า เริ่มจากการทอผ้าไหมเพื่อใช้ในครัวเรือน การแต่งกายของผู้คนในโอกาส

พิธีการต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของเจ้าบ่าว เจ้าสาว เป็นของไหว้สำหรับญาติฝ่ายชายในงานแต่งงาน รวมถึงงานบุญ งานทาน

งานประเพณีต่างๆ ผู้คนจะแต่งกายด้วยผ้าไหม ทั้งชายและหญิงเป็นการประกวด ประชัน ทั้งฝีมือการทอและการตัดเย็บไปในตัว

ในปี ๒๕๑๖ นายสมคิด จาปะเกษตรซึ่งขณะนั้นเป็นนายอำเภอบ้านเขว้าพร้อมด้วยนายทองคำ อยู่วิเศษ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอบ้านเขว้า

พร้อมด้วยคุณนายนายอำเภอบ้านเขว้าได้ประสานไปยังคุณหญิงจรุงจิตรฯ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

และมรว.สุปะภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการ ในพระองค์เพื่อติดต่อขอนำผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของเกษตรกรไปจำหน่ายยังสำนักพระราชวัง

ซึ่งได้รับการสนับสนุนให้นำผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเข้าไปจำหน่าย จึงได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตสินค้าออกจำหน่าย โดยการนำของท่านนายอำเภอบ้านเขว้า

และได้จัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมอำเภอบ้านเขว้าขึ้นในสมัยนั้นเอง มีสมาชิกทั้งสิ้น ๖๐๐ คน โดยมีนางแซว อยู่วิเศษ เป็นหัวหน้ากลุ่ม สามารถจำหน่ายผ้าไหมให้กับสำนักพระราชวังได้ราคาที่สูงมาก ผ้าไหมของบ้านเขว้าจึงเริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไปของคนไทยทั้งประเทศตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ผู้ว่าฯ ชัยภูมิกับผ้าไหม

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ นายถนอม แสงชมพู นายอำเภอขณะนั้น ได้นำผ้าไหมส่งศูนย์ศิลปาชีพ สวนจิตรลดา

ด้วยคุณภาพของ ผ้าไหม ลวดลายที่แปลกตา และฝีมือที่ประณีตจึงได้รับความสนใจ มีผู้สั่งทอเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๓๐

ผู้ว่าราชการในจังหวัดชัยภูมิในขณะนั้น (ร.ต.สุนัย ณ อุบล ดร. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านผ้าไหมและผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหม ) ได้ให้

การส่งเสริมการผลิตและได้ส่งผ้าไหมบ้านเขว้าเข้าประกวดที่โครงการศิลปะอาชีพบางไทร พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์จังหวัดสกลนคร

ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้นผ้าไหมอำเภอบ้านเขว้าได้รับการคัดเลือกส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศเกือบทุกปี

เอกลักษณ์ของลายผ้า เป็นการสะท้อนความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตชุมชนบ้านเขว้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมชุมชน

ก่อให้เกิดจินตนาการคิดค้นออกมาเป็นลวดลายต่างๆ บนผืนผ้าถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เชื่อมโยงผลิตภัณฑ์กับภูมิปัญญา

มีการสาธิตการผลิตผ้าไหมและกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการผลิต เช่น การทอผ้า การเพนท์ผ้า การหยอดทองเป็นต้น

หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

ในปีพ.ศ.๒๕๔๕ โครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการพิจารณาให้เป็นสินค้าระดับ ๕ ดาวของจังหวัดชัยภูมิ

และในการประกวดสินค้า โอท็อป ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ผ้าไหมบ้านเขว้า ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ

ยอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เห็นได้จากการจำหน่ายผ้าไหมในงานแสดงสินค้าที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ยอดจำหน่ายสินค้า otopของจังหวัดชัยภูมิ

เฉพาะผ้าไหมเป็นเงินถึง ๑๔ ล้านบาทเศษ

ต่อมาได้มีการผลิตผ้าไหมกันอย่างแพร่หลาย และกลุ่มผู้ทอผ้าไหมอำเภอบ้านเขว้า ได้ผลิตผ้าไหมเป็นจำนวนมาก ทำให้การนำผลิตภัณฑ์ผ้าไหม

ส่งจำหน่ายยังสำนักพระราชวังไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ ที่ส่งเข้าไปมีมากเกินไปทำให้สมาชิกของกลุ่มบางคนออกไปจัดตั้งและผลิตผ้าไหม

เพื่อหาแหล่งจำหน่ายเองจึงทำให้เกิดการแตกแยกภายในกลุ่ม จนปัจจุบันกลุ่มผู้ทอผ้าไหมอำเภอบ้านเขว้าได้ถูกยุบเลิกไป และเกิดกลุ่มผู้ประกอบการผลิต

และจำหน่ายผ้าไหมขึ้นอีกเป็นจำนวนมากตามที่ปรากฎเห็นตามภาพหมู่บ้านผ้าไหม

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นายยงยุทธ ยุทธ ทองเจริญ

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/358019